|
พระราชบัญญัติกัรถแท็กฃี่ |
|
มาตรา |
|
|
93 |
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร |
|
|
เว้นแต่การบรรทุกนั้นน่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร
|
|
|
ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถแท็กซี่มีความประสงค์จะไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารให้แสดงป้ายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร
|
|
|
วิธีการแสดงป้าย
และลักษณะของป้ายงดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ |
|
152 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท |
|
94 |
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่รับบรรทุกคนโดยสารเกินจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ |
|
152 |
ในการนับจำนวนคนโดยสาร
ให้ถือว่าเด็กอายุไม่เกินสิบปี จำนวนสองคน เท่ากับคนโดยสาร หนึ่งคน
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 94 วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
|
|
95 |
ห้ามมิให้ผู้ใด
|
|
|
1. เรียกให้คนขึ้นรถแท็กซี่โดยส่งเสียงอื้ออึง
หรือในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสารหรือผู้อื่น
|
|
|
2. ต้อน ดึง เหนี่ยว หรือยึดยื้อคน หรือสิ่งของของคนนั้น
เพื่อให้คนขึ้นรถแท็กซี่คันใดคันหนึ่ง |
|
152 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 95
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
|
|
96 |
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่เรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่ปรากฎจากมาตรแท็กซี่
|
|
|
ลักษณะและวิธีการใช้มาตรแท็กซี่ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
|
148 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 96 วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท |
|
97 |
คนโดยสารต้องชำระค่าโดยสารตามอัตราที่ปรากฎจากมาตรแท็กซี่ |
|
148 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 97
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท |
|
98 |
บทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 97
จะใช้บังคับในท้องที่ใด และจะใช้บังคับกับรถแท็กซี่ทุกประเภท หรือบางประเภท |
|
|
โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา |
|
|
ในท้องที่ใดที่มิได้มีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ
|
|
|
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในท้องที่นั้นเรียกเก็บค่าโดยสารเกินราคาที่ตกลงกันไว้กับคนโดยสาร |
|
|
และคนโดยสารต้องชำระค่าโดยสารตามที่ตกลงไว้นั้น |
|
|
บทบัญญัติในวรรคสองให้ใช้บังคับแก่กรณีของรถแท็กซี่ประเภทที่มิได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย
|
|
149
|
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 98 วรรคสอง
หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท |
|
99
|
ในขณะขับรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ |
|
|
(1) สูบบุหรี่ เปิดวิทยุ หรือกระทำด้วยประการใดใด
ในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสาร |
|
|
(2) ยื่นมือ แขน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกรถ
เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อให้สัญญาณตามมาตรา37
|
|
|
(3) จับคันบังคับด้วยมือเพียงข้างเดียวเว้นแต่มีเหตุจำเป็น
|
|
|
(4) ใช้เสียงสัญญาณเมื่อเข้าไปในบริเวณโรงพยาบาล
สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา |
|
|
(5) ให้เสียงสัญญาณแตรเพื่อเร่งรถคันอื่น
|
|
|
(6) แซงหรือตัดหน้ารถอื่นในลักษณะฉวัดเฉวียน
เป็นที่น่าหวาดเกรงว่าจะเกิดอันตราย
|
|
|
(7) ขับรถเข้าบริเวณบ้านของผู้อื่น
|
|
|
(8)
รับคนโดยสารภายในบริเวณที่เจ้าพนักงานจราจรได้กำหนดเครื่องหมายจราจรห้ามรับผู้โดยสาร
|
|
|
(9) กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว
หรือแสดงกิริยา ในลักษณะดังกล่าวต่อคนโดยสาร หรือผู้อื่น |
|
152
|
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 99
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท |
|
100
|
ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต้องพาคนโดยสารไปยังสถานที่ที่ว่าจ้างตามเส้นทางที่สั้นที่สุด
หรือเส้นทางที่ไม่อ้อมเกินควร และต้องส่งคน |
|
|
โดยสาร ณ
สถานที่ตามที่ตกลงกันไว้ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่พาคนโดยสารไปทอดทิ้งระหว่างทาง
ไม่ว่าด้วยประการใดๆ |
|
มาตรา 158 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 100
วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน สองพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
101 |
ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต้องแต่งกาย
และมีเครื่องหมายเย็บติด หรือปักไว้ที่เครื่องแต่งกาย
|
|
|
ลักษณะเครื่องแต่งกายและเครื่องหมายให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
|
|
|
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศของอธิบดีใช้บังคับ |
|
148 |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 101
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท |
|
102
|
เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้
รถแท็กซี่ในท้องที่ใดต้องจอดพักรถ ณ |
|
|
สถานที่ที่ใดเป็นการเฉพาะ ก็ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา |
|
|
ในพระราชกฤษฎีการดังกล่าว ให้ระบุท้องที่
และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีที่จอดพักรถด้วย |
|
153
|
ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถแท็กซี่ |
|
|
ผู้ใดไม่จอดรถ ณ สถานที่ที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามมาตรา 102
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท |
|
|
|
|