น้ำมันเบรค ระบบน้ำมันเบรคเป็นระบบปิด ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนบ่อยๆเหมือนน้ำมันเครี่อง และความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของส่วนประกอบในระบบเบรคมีไม่มากนัก จะมีก็ อุณหภูมิที่จะทำให้น้ำมันเบรคเสื่อมสภาพได้ แต่น้ำมันเบรคชนิดที่ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด ก็จะทนอุณหภูมิสูงๆได้นานๆอยู่แล้ว ดังนั้นโดยปกติเราจะเปลี่ยนน้ำมันเบรคกันที่ 40,000 กม. การเปลี่ยนบ่อยกว่านั้น ไม่มีผลเสียครับนอกจากเสียเงิน แต่การใช้ไปยาวกว่านี้มีผลเสียทำให้ ประสิทธิภาพในการเบรคค่อยๆลดลง และอาจเกิดอันตรายจากการกะระยะผิดได้นะครับ รถของท่านเปลี่ยนน้ำมันเบรคครั้งสุดท้ายไปเมื่อไหร่ครับ ลองจดการบันทึกเปลี่ยนน้ำมันต่างๆไว้ในสมุดคู่มือประจำรถ กันลืมจะช่วยได้เยอะเลยครับ และการเก็บใบเสร็จทั้งหมดที่เกี่ยวกับรถตั้งแต่เริ่มใช้ก็จะช่วยได้ทั้งตอนใช้อยู่เอง และตอนขายนะครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนเครื่องยนต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นปัญหาติดตัวของรถบางรุ่น ในการลองรถท่านควรจะใช้เวลาพอสมควรและสังเกตุ เข็มความร้อนในระหว่างที่ลอง โดยเฉพาะช่วงรถติด จะเป็นตัววัดได้ดีที่สุด เพราะไม่มีลมปะทะช่วยระบายความร้อนจากหม้อน้ำ การลองรถในเขตรถติดก็จะทดสอบเรื่องนี้ได้ดี อย่ามองข้ามนะครับ เพราะการแก้ปัญหาภายหลังไม่ว่า การขยายหม้อน้ำ หรืออาจเป็นการซ่อม-เปลี่ยนพัดลมหม้อน้ำ บางรุ่นก็หลายพันทีเดียว บางครั้งแก้ไม่ตกบ่อยๆก็เสียเวลาและทำให้เบื่อรถคันนั้นไปได้ซะเฉยๆ และการนัดดูรถตอนกลางวันจะช่วยเช็คเรื่องนี้ได้ง่ายมากทีเดียว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปฎิบัติเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด
ควรทำดังนี้ ... |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อควรระวังในการขับรถท่ามกลางฝน ปกติถ้าท่านขับต่างจังหวัดด้วยความเร็วซักประมาณ 100-140 กม./ชม. เมื่อเข้าเขตฝนตกจะตั้งตัวแทบไม่ทัน เพราะมันเร็วมาก สิ่งที่ควรทำคือลดเกียร์มาเกียร์ 4 แตะเบรคช่วยเล็กน้อย พอได้ความเร็วที่ปลอดภัยแล้ว เปลี่ยนกับไปเกียร์ 5 ได้ แต่ถ้าท่านแตะเบรคอย่าง ท่านเดียวต้องมั่นใจว่า ถนนด้านหน้าไม่มีแอ่งน้ำ ที่จะทำให้ล้อล็อคได้ที่ความเร็วขนาดนั้น หรือรถท่านมีระบบเบรค ABS รถปัดที่ความเร็วขนาดนั้นอันตรายมากนะครับ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำเข้ารถ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยปกติ รถที่ออกจากโรงงานจะมีการพ่นเคลียร์หรือแล็กเกอร์ทับชั้นบนสุดเป็นชั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการป้อง กันการจางและรอยขูดขีดของสีที่เกิดขึ้นเล็กน้อยได้ ซึ่งเหมือนกับการเคลือบสีนั่นเอง รถที่อายุไม่เกินซัก 4-7 ปี ขึ้นกับการใช้งานว่าจอดตากแดดแค่ไหน โดยทั่วไปรถประมาณนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเคลือบสีอีก เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ นอกจากนี้การเคลือบสีก็จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณ พื้นผิวของชิ้นงานที่เราต้องการทำการเคลือบสี โดยต้องขัดผิวหน้าของสีออก ซึ่งการขัดผิวหน้าของสีออก อาจจะทำให้สีของรถบางลงไปกว่าเดิมด้วย ดังนั้นหากท่านต้องการจะทำให้สีของรถดูมีสภาพเหมือนใหม่ ท่านจึงควรที่จะทาความสะอาดรถอยู่เสมอโดยการล้างรถด้วยแชมพูสำหรับล้างรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกัน การซีดจางของสีรถ และควรเช็ดน้ำให้แห้งอยู่เสมอ ก็จะดูใหม่ตลอดเวลา ส่วนถ้ารถท่านอายุมากกว่านั้น หรือเห็นว่าสีเริ่มด้านนิดๆ บางส่วนแล้วโดยเฉพาะหลังคากับฝากระโปรงหน้าละก็น่าจะเคลือบสีไวั เพื่อยืดอายุความสวยงามออกไปอีกได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พวงมาลัยพาวเวอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พวงมาลัยพาวเวอร์จะเพิ่มหรือลดแรงในการเปลี่ยนมุมล้อตามสัดส่วนของแรงต้านที่เกิด ขึ้น ถ้ามีแรงต้านมาก ปั๊มป์น้ำมันไฮดรอลิกจะทำงานมากขึ้น ทำให้มีการไหลและแรงดัน มาก ทำให้เราออกแรงหมุนน้อยลงได้ เพราะปั๊มทำงานแทนเราไปเยอะเลย ดังนั้นเวลาเรา หักเลี้ยวสุดๆ ก็จะเกิดแรงดันในตัวปั๊มสุดๆ ตามไปด้วย แต่ถึงยังไงก็ตาม เค้าก็ออกแบบ ระบบมาให้มีวาล์วระบายแรงดันในตัวปั๊มป์ออกไปบ้างได้ เพื่อไม่ให้ระบบไฮดรอลิกพัง ดังนั้นการหักเลี้ยวสุดๆในกรณีที่รถวิ่งอยู่ ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่...ถ้ารถท่านจอดอยู่ ละก็ ไม่ควรครับ ไม่ควร การหักเลี้ยวสุดๆเวลารถจอดอยู่กับที่เป็นเวลานาน จะทำให้ระบบ มีอายุสั้นลงเพราะน้ำมันไฮดรอลิกจะมีแรงดันมาก และไหลเร็วกว่าปกติ ทำให้ชิ้นส่วนที่ เป็นยางต่างๆในระบบมีอายุการใช้งานสั้นลง ใช้รถให้คุ้ม ใช้กันยาวๆกันดีกว่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายชื่อ ทางโค้งอันตราย
มีอุบัติเหตุบ่อย! โปรดเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะผ่านโค้งเหล่านี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Tell a friend: | home |